วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

8.ไทยกุลา

คำว่า “กุลา” มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น กุลา คือพวกเงี้ยวหรือตองซู่ในรัฐไทยใหญ่ของพม่า เงี้ยวหรือตองซู่ เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานในอดีตเรียกขาน และตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพวก “กุลา”คำว่า “กุลา” เดิมหมายถึง พวกแขกบังคล่า (บังคลาเทศ ในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อเห็นพวกไทยใหญ่




หรือเงี้ยวรูปร่างสูงใหญ่นุ่งกางเกงขายาว
ปลายบาน โพกศีรษะทรงสูงเข้ามาค้าขายใน
ภาคอีสานก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับ
พวกแขกบังคล่าจึงเรียกพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยว
ว่ากุลา ต่อมาเมื่อเห็นพวกแขกขาวเช่นมาจาก
อาฟกานิสถาน อิหร่าน ฯลฯก็เลยเรียกว่า
พวกกุลาขาว และเรียกพวกมาจากบังคลาเทศ
จากอินเดีย และจากพม่าว่ากุลาดำพวกเงี้ยว
หรือกุลาชอบเร่ร่อนมาค้าขายใน
ภาคอีสานจนมีชื่อเป็น

ชาวไทยกุลา
อนุสรณ์ว่าทุ่งกุลาร้องไห้ พวกกุลาชอบนำเอาผ้าแพรพรรณ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต
ตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง มีด ดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสาน แล้วซื้อวัว ควาย กลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากแต่งงานกับชาวไทยอีสานและผู้ไทย เช่น ที่เมืองเรณูนคร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนมและที่เมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมากุลาเหล่านี้ ี้ในอดีต
มีสัญชาติ และอยู่ในบังคับในอดีตเรียกว่าอยู่ในสัปเยกต์ (SUBJECT-บังคับ)ของอังกฤษ เพราะพม่าเป็นอาณา
นิคมของอังกฤษ เมื่อกุลาเกิดคดีความขึ้น ต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้งกุลามีรูปร่างสูงใหญ่
ชอบนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาวปลายบานถึงข้อเท้าและโพกศีรษะทรงสูงในสมัยรัชกาลที่ 5 กุลาหรือเงี้ยว
นำฝิ่นมาค้าขายอยู่ในเขตเมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหารเป็นจำนวนมากต่อมาได้ตั้งรกรากอยู่ที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมื่อ พ.ศ. 2446 ทางเมืองมุกดาหาร
ต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาช่วยปราบปราม เมื่อปราบปรามเสร็จแล้วจึงแยกย้ายพวกกุลาให้แยกกันออกไป
ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองหนองสูง รวมทั้งในเขตอำเภอคำชะอี หลายหมู่บ้าน ส่วนบริเวณทุ่งหมากเฒ่า
ต่อมาได้ตัดแบ่งเขตให้ไปอยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านขุมขี้ยาง ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น