วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

8.ไทยกุลา

คำว่า “กุลา” มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่า คนต่างถิ่น กุลา คือพวกเงี้ยวหรือตองซู่ในรัฐไทยใหญ่ของพม่า เงี้ยวหรือตองซู่ เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานในอดีตเรียกขาน และตั้งชื่อให้ใหม่ว่าพวก “กุลา”คำว่า “กุลา” เดิมหมายถึง พวกแขกบังคล่า (บังคลาเทศ ในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อเห็นพวกไทยใหญ่




หรือเงี้ยวรูปร่างสูงใหญ่นุ่งกางเกงขายาว
ปลายบาน โพกศีรษะทรงสูงเข้ามาค้าขายใน
ภาคอีสานก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับ
พวกแขกบังคล่าจึงเรียกพวกไทยใหญ่หรือเงี้ยว
ว่ากุลา ต่อมาเมื่อเห็นพวกแขกขาวเช่นมาจาก
อาฟกานิสถาน อิหร่าน ฯลฯก็เลยเรียกว่า
พวกกุลาขาว และเรียกพวกมาจากบังคลาเทศ
จากอินเดีย และจากพม่าว่ากุลาดำพวกเงี้ยว
หรือกุลาชอบเร่ร่อนมาค้าขายใน
ภาคอีสานจนมีชื่อเป็น

ชาวไทยกุลา
อนุสรณ์ว่าทุ่งกุลาร้องไห้ พวกกุลาชอบนำเอาผ้าแพรพรรณ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต
ตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง มีด ดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสาน แล้วซื้อวัว ควาย กลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากแต่งงานกับชาวไทยอีสานและผู้ไทย เช่น ที่เมืองเรณูนคร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนมและที่เมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมากุลาเหล่านี้ ี้ในอดีต
มีสัญชาติ และอยู่ในบังคับในอดีตเรียกว่าอยู่ในสัปเยกต์ (SUBJECT-บังคับ)ของอังกฤษ เพราะพม่าเป็นอาณา
นิคมของอังกฤษ เมื่อกุลาเกิดคดีความขึ้น ต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้งกุลามีรูปร่างสูงใหญ่
ชอบนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาวปลายบานถึงข้อเท้าและโพกศีรษะทรงสูงในสมัยรัชกาลที่ 5 กุลาหรือเงี้ยว
นำฝิ่นมาค้าขายอยู่ในเขตเมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหารเป็นจำนวนมากต่อมาได้ตั้งรกรากอยู่ที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมื่อ พ.ศ. 2446 ทางเมืองมุกดาหาร
ต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาช่วยปราบปราม เมื่อปราบปรามเสร็จแล้วจึงแยกย้ายพวกกุลาให้แยกกันออกไป
ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองหนองสูง รวมทั้งในเขตอำเภอคำชะอี หลายหมู่บ้าน ส่วนบริเวณทุ่งหมากเฒ่า
ต่อมาได้ตัดแบ่งเขตให้ไปอยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านขุมขี้ยาง ในปัจจุบัน

7. ไทยย้อ

ชาวย้อ
ไทยย้อเป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักเรียกตัวเองว่า ไทยย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร , ชาวย้อ ในตำบลท่าขอนยาง(เมืองท่าขอนยาง) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม , ชาวย้อ ในอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และชาวย้อในตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร



ภาษาและสำเนียงของชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไป
จากชาวอีสานทั่วไปบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิม
ของชาวย้อ มีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่แคว้นสิบสอง
ปันนา หรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได
้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง เพื่อเลือกหาที่ตั้ง
บ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่า
ที่อยู่เดิมจนในที่สุดชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่า
ตรงปากน้ำสงครามริมฝั่งโขงเป็นที่อุดมสมบรูณ์
มีปลาชุกชุม จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองไชยบุรี
เมื่อ พ.ศ.2350 (สมัยราชกาลที่ 1)

ชาวไทยย้อ
ต่อมาเมื่อเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2369 ไทยย้อเมืองไชยบุรี
ถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์กวาดต้อนให้อพยพข้ามโขงไปด้วย โดยให้ไปตั้งอยู่ที่เมืองหลวงปุงเลง เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ในแขวงคำม่วน ของลาว ต่อมากองทัพไทย ได้กวาดต้อนให้ไทยย้อ ให้อพยพข้ามโขง กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยย้อกลุ่มหนึ่งตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทน
เมื่อ พ.ศ.2373 ให้ไทยย้อที่อพยพข้ามโขงมาตั้งที่บ้านท่าขอนยาง เป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)ให้ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิดเป็นพระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง จึงมีไทยย้อ ที่ตำบลท่าขอนยาง บ้านกุดน้ำใส บ้านยาง บ้านลิ้นฟ้า บ้านโพน และยังมี
ไทยย้อที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม บ้านจำปา บ้านดอกนอ บ้านปุ่งเป้า บ้านนาสีนวน อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม บ้านหนองแวง บ้านสา อำเภอยางตลาด บ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไทยย้อเมืองสกลนคร อพยพมาจากเมืองมหาชัย (แขวงคำม่วนของลาว) มาตั้งอยู่ริมน้ำหนองหานสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.2381
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)ในจังหวัดมุกดาหารมีไทยย้อที่อพยพมาจาก
เมืองคำม่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร และอยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อย
อีกหลายหมู่บ้าน

6.ชาวไทยแสก

ชาวแสก
แสก คือ คนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ เมืองแสก เมืองแสกปัจจุบันเป็นเมืองร้าง อยู่บริเวณบ้านหนาด
บ้านตอง ในแขวงคำม่วนของดินแดนลาว และอยู่ห่างจากชายแดนเวียดนามประมาณ 20 กิโลเมตร(จากเอกสาร ร.5 ม,212 ก.หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)เมืองแสกเคยอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ก่อน ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)
เป็นภาษาไทยลาว ปนญวน เพราะว่าอยู่ใกล้ชิดติดกับเขตแดนญวนและมีขนบธรรมเนียมของญวน (เวียดนาม



ปะปนอยู่ด้วยเช่น ตรุษแสกหรือตรุษญวน
(กินเตดหรือ กินเตนเคน) ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3
เพื่อบวงสรวงดวงวิญญาณของ เจ้าองค์มู
(องค์มู –เป็นชื่อในภาษาญวน) ซึ่งชาวแสกถือว่า
เป็นบรรพบุรุษที่ช่วยคุ้มครองรักษาชาวแสก
ให้ปราศจากภยันตรายทั้งปวงชาว แสกเคยมี ประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ ในสมัยรัชกาลที่ 3
เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
แม่ทัพไทยซึ่งยกทัพไปปราบปราม
เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ และไปตั้งทัพอยู่ที่
เมืองนคร ได้แต่งตั้งให้ ฆานบุดดี หัวหน้าชาวแสกเป็น หัวหน้ากองอาทมาต

ชาวไทยแสกเต้นสาก
เป็นกองลาดตะเวนรักษาชายแดนพระราชอาณาเขตซึ่งติดกับเขตแดนญวน ต่อมาได้อพยพชาวแสกให้มาตั้ง
บ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองนครพนม เมืองสกลนคร และเมืองมุกดาหารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ฆานบุดดีเป็น หลวงตาเอกอาษา เจ้าเมืองอาทมาตขึ้นเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)ไทยแสกได้กระจัดกระจายอยู่ในท้องที่
เมืองสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ผู้หญิงแสกนิยมการแต่งกายที่แปลกกว่าที่ชาวอีสานทั่วไป คือ นุ่งผ้าซิ่นสองชั้นและปล่อยให้ผ้าซิ่นชั้นในแลบออกมา เป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิงชาวแสก ศิลปวัฒนธรรม
ดั้งเดิมของชาวแสก คือ แสกเต้นสาก หรือ รำลาวกระทบไม้ แม้ในปัจจุบันก็ยังนิยมเล่นกันอยู่ในเทศกาล
เดือน 3 (ตรุษแสก) ทุกปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเล่าถึงการแสดงแสกเต้นสาก เมื่อ เสด็จตรวจราชการเมืองนครพนม เมื่อพ.ศ. 2449 ไว้ว่า “เขาพาพวกผู้หญิงแสกมาเล่นให้ฉันดูอย่างหนึ่งเรียกว่า แสกเต้นสาก มีผู้หญิง 10 คู่ นั่งหันหน้าเข้าหากัน
เรียงเป็นแถว แต่ละคนถือปลายไม้พลองมือละอันทั้งสองข้าง วางไม้พลองบนไม้ขอนที่วางทอดไว้ตรงหน้า
สองท่อนมีทางอยู่ตรงกลาง เวลาเล่น 10 คู่ นั้น ขับร้องแล้วเอาไม้พลองที่ถือลงกระทบไม้ขอนพร้อม ๆ กันเป็นจังหวะ จังหวะหนึ่ง จังหวะสอง ไม้พลองห่างกัน จังหวะที่สามรวบไม้พลองเข้าชิดกัน มีผู้หญิงสาว 4 คน ผลัดกันเต้นทีละคู่ เต้นตามจังหวะไปในระหว่างช่องไม้พลองที่คนถือนั้น 10 คู่ ต้องระวังเมื่อถึงจังหวะที่สาม อย่าให้ไม้พลองหนีบข้อตีน กระบวนเล่นมีเท่านี้....”

5.ไทยกะเลิง

ไทยกะเลิง
คำว่า กะเลิง มาจากคำว่า ข่าเลิง หมายถึง ข่าพวกหนึ่งในตระกูลมอญเขมร ข่า กะโซ่และกะเลิง อยู่ในตระกูล
เดียวกัน ภาษาพูดอยู่ในตระกูล ออสโตรอาเซียติค ถิ่นกำเนิดของชาวกะเลิงอยู่ในแขวงคำม่วน และแขวง
สุวรรณเขต ของลาว อพยพข้ามโขงมาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากการปราบกบฏ
เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์แล้ว ส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และ



ชาวไทยกะเลิง
จังหวัดมุกดาหารในอดีตผู้ชายกะเลิงชอบสักรูป
นกแก้วที่แก้ม และปล่อยผมยาวประบ่า ส่วนผู้หญิงเกล้ามวยผม ปัจจุบันผู้ชายกะเลิงที่
สักขาลายตั้งแต่ข้อเท้า ขึ้นไปถึงบั้นเอว ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในท้องที่อำเภอดอนตาล เช่นที่ตำบลนาสะเม็ง และในท้องที่อำเภอคำชะอี ที่ตำบลบ้านซ่ง บางหมู่บ้านตำบลเหล่าสร้างถ่อ
บางหมู่บ้าน และที่บ้านโนนสังข์ บ้านนาหลวง จังหวัดมุกดาหาร ชาวกะเลิงมีผิวกายดำคล้ำผมหยิกเช่นเดียว
กับพวกข่า และกะโซ่ อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์
มองโกลอยด์ ตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งขุน
ทั้งสามผู้เป็นใหญ่ คือ ขุนเค็ก ขุนคาน และ
ปู่ลางเซิน ได้ขอร้องต่อพญาแถน ซึ่งถือว่า
เป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองโลกตามความเชื่อของ
ชาวอีสาน ซึ่งขุนทั้งสามขอกลับลง ไปอยู่ใน
โลกมนุษย์โดยอ้างว่า “......ข้อยนี้ก็อยู่เมืองบนก็บ่แก่น แล่นเมืองฟ้าก็บ่เป็น.....” พญาแถนจึงให้ลงมาเกิด
ที่เมืองมนุษย์ที่ เมืองแถน หรือ เมืองน้ำน้อย อ้อยหนู ซึ่งอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย พร้อมกับได้ส่งควายให้ลง
มาเกิดในเมืองแถนด้วย เพื่อจะได้ใช้ทำไร่ไถนาหาเลี้ยงชีพต่อมาควายได้ตาย ซากของควายเกิดเป็น น้ำเต้าปุง ต่อมาในน้ำเต้าปุงได้เกิดเป็นมนุษย์ขึ้นหลายเผ่าพันธุ์ มนุษย์เหล่านั้นร่ำร้องอยากออกมาสู่โลกมนุษย์ ขุนทั้งสาม
จังเอาเหล็กซี(เหล็กปลายแหลมเผาไฟ) เจาะรูน้ำเต้าปุง เพื่อให้มนุษย์เล่านั้นออกมามนุษย์พวกแรกที่ออกมา
คือ พวกข่า กะโซ่ กะเลิง แต่เนื่องจากเหล็กซีที่เผาไฟเจาะรูน้ำเต้าปุง เต็มไปด้วยคราบเขม่าไฟสีดำ พวกข่า กะโซ่ กะเลิง ที่ออกมาจากน้ำเต้าปุงก่อนเผ่าอื่น ๆ จึงมีผิวดำคล้ำมอมแมมต่อมาถึงลูกหลานทุกวันนี้ แต่ยังมี
เผ่าอื่น ๆ ที่ยังเหลืออยู่ในน้ำเต้าปุงอีกมาก ขุนทั้งสามจึงใช้สิ่วเจาะรูน้ำเต้าปุงให้กว้างยิ่งขึ้น เผ่าอื่น ๆ รุ่นหลังที่ออกมา เช่น ไทยเลิง ไทยลอ ไทยกวางฯลฯ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของไทย ลาว ผู้ไทย ที่ออกมารุ่นหลังนี้
ได้รีบไปอาบน้ำชำระร่างกาย ในหนองน้ำศักดิ์สิทธิ์จึงมีผิวกายขาวผ่องยกเว้น พวก ข่า กะโซ่ และกะเลิง ซึ่งออกมารุ่นแรกจากน้ำเต้าปุงที่เจาะด้วยเหล็กซีเผาไฟ จึงมีคราบเขม่าไฟติดตามร่างกายและกลัวความ
หนาวเย็นไม่ยอมไปอาบน้ำชำระร่างกาย จึงมีผิวดำคล้ำแทบทุกคนถึงอย่างไร ก็ตามพวกข่า กะโซ่ และกะเลิง
ก็ออกมาจากน้ำเต้าปุงก่อนเผ่าอื่น ๆ จึงถือว่าเป็นพี่ใหญ่(อ้ายกก) ย่อมมีสติปัญญาเหนือกว่าเผ่าอื่น ๆ ตามตำนานยังเล่าว่าพวกข่า กะโซ่ และกะเลิง เคยมีตัวหนังสือมาตั้งแต่อดีต โดยจารึกตัวหนังสือไว้ในหนังควาย แต่ว่าพวกข่า กะโซ่ และกะเลิงได้ทำสงครามแย่งชิงถิ่นที่อยู่กับชาวผู้ไทยมาตลอดจนแม่ทัพนายกองสิ้นชีวิตไป
หลายคน ในระหว่างทำสงคราม ได้ถูกสุนัขลักลอบเข้าไป ในวังของกษัตริย์ แล้วคาบเอาหนังควายที่จารึก
อักษรข่า กะโซ่ และ กะเลิงไปกินเป็นอาหารเสียสิ้น พวกข่า กะโซ่ และกะเลิงจึงไม่มีหนังสือขีดเขียน
เป็นอักษรของตนอีก
วิถีชีวิตและอุปนิสัย ชาวกะลิง ความเป็นอยู่และอุปนิสัยคล้าย ชาวไทย ข่า คือมีความมุ่งมั่น ขยันขันแข็ง มีความรักและจริงใจต่อ เพื่อน

4. ชาวไทยกะโซ่

ชาวไทยกะโซ่



ไทกะโซ่
ไทกะโซ่ หรือไทยกะโซ่ หรือโซ่ ในพจนานุกรมฉบัับราชฐานบัณฑิตสถาน
เขียนว่า กะโซ่แต่ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวก
เดียวกันกับลาวโซ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี ,นครปฐม
และสุพรรณบุรี แต่แท้จริงแล้ว ลาวโซ่งคือพวก ไทยดำ ที่อพยพมาจากเมืองแถน
หรือเดียน เบียนฟู ในสมัยกรุงธนบุรี ส่วนคำว่า
กะโซ่ หมายถึง ข่าพวกหนึ่งในตระกูลมอญเขมร
กะโซ่ตามลักษณะและชาติพันธ์ถือว่าอยู่ในกลุ่ม
มองโกลอยด์ กะโซ่มีภาษา และวัฒนธรรม
แตกต่างไปจากพวกข่าอยู่บ้าง เล็กน้อย แต่ภาษาของกะโซ่ ยังถือว่าอยู่ในตระกูล ออสโตรอาเซียติค สาขามอญเขมรหรือ กะตุ
( Katuic)
ชาวไทกะโซ่
ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวกะโซ่ อยู่ที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน และแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว ส่วนข่า
อีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากแขวงอัตปือของลาวไปอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ เรียกว่า ส่วย หรือ กุย
พูดภาษาเดียวกันกับพวกกะโซ่ พวกกะโซ่ที่อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาในสมันรัชกาลที่ ๓ ได้ตั้งบ้าน ตั้งเมือง
หลายเมือง คือ
๑. เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเชียงฮ่ม ( อยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาว )ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช
ขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ท้าวบัวจากเมืองเชียงฮ่ม เปพระอุทัยประเทศ เจ้าเมือง ปัจจุบันยุบรวมเป็นตำบล รามราชขึ้นอำเภอท่าอุ้ทน จังหวัดนครพนม
๒ เมืองกุสุมาลย์มณฑล เป็นชาวกะโซ่ที่อพยพมาจากเมืองมหาชัย ( อยู่ในแขวงคำม่วนของลาว) อพยพมาตั้งอยู่ที่ บ้านกุดสมาร ตั้งขึ้นเป็นเมือง กุสุมาลย์มณฑล ขึ้นเมืองสกลนคร เมื่อ พ .ศ .๒๓๘๗ ทรงพระกรุณาปรดเกล้า ให้ตั้งเพี้ยเมืองสูง หัวหน้าชาวกะโซเป็น พระอรัญอาษา เจ้าเมือง ปัจจบันคือท้องที่ อำเภอ กุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังมีชาวกะโซ่อยู่ในท้องที่ อำเภอปาปาก จังหวักนครพนมอีกเช่นที่ตำบลโคกสูง และที่บ้านวังตามัว เขตอำเภอเมืองนครพนม ในจังหวัดมุกดาหารมีชาวกะโซอยู่ในท้องที่อำเภอดงหลวง เป็นส่วนมาก อพยพเข้ามาในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ ๒๓๕๙ หัวหน้าชาวกะโซ่ อำเภอดงหลวงต่อมาได้เป็นกำนันซึ่งบรรดาศักดิ์ว่า หลวงวาโนไพรพฤกษ์ ชาวกะโซในอำเภอดงหลวง ส่วนมาก จะใช้นามสกุลเดียวกันหมดคือ วงศ์กะโซ่
วัฒนธรรมของชาวกะโซ่ ที่ยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื้อชาติที่เด่นชัดก็คือ พิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง หรือสลา เป็นพิธีกรรมในการบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือการเรียกขวัญรักษาคนเจ็บไข้ และพิธีกรรม ซางกระมูด ในงานศพ
พิธีกรรมของชาวกะโซ่
๑.พิธีกรรมโซ่ถั้งบั้ง เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ คำว่า โซ หมายถึงชาวกะโซ่ คำว่าถั่ง หมายถึง กระทุ้ง หรือกระแทก คำว่าบั้ง หมายถึง บ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ โซ่ถั่งบั้งคือพิธีกรรมที่ใช้กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ปล้อง กระทังดินเป็นจังหวะ มีการร่ายรำและร้องรำ ไปตามจังหวะ ซึ่งเสด็จพระบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชการภาคอีสาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ ( อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ) ซึ่งเป็นชาวกะโซ่ได้ทรงบันทึกการแสดง โซ่ถั่งบั้ง หรือ สลา ในการรับเสด็จว่า “ ...สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้ว มีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสพายหน้าไม้และลูกสำหรับคนยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่า พะเนาะคนหนึ่ง คึนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือตะแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง คนถือสิ่วหักสำหรับเคาะจัวหวะคนหนึ่ง รวม ๘ คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมาพอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป...”
๒.พิธีซางกระมูด เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ก่อนนำศพลงจากบ้านเรือน คำว่า ซาง หมายถึง การกระทำหรือจักดระเบียบ กระมูด แปลว่า ผี ซางกระมูดหมายถึงการจัดพิธีเกี่ยวกับคนตาย ชาวกะโซ่ถือว่าเมื่อ คนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ จึงต้องกระทำพิธีซางกะมูดเสียก่อนเพื่อให้ผีดิบหรือและวิญญาณของผผู้ตาย
ได้สงบสุข มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องของผู้จายเจ็บป่วยได้อีก
อุปกรณ์ในพิธีซางกะมูด ประกอบไปด้วยขันโตก ( ขันกระหย่องสานด้วยไม้ไผ่ ) สองใบเป็นภาชนะ ใส่อุปกรณืต่างๆ มีไม้ไผ่สานเป็นรูปจักจั่น ๔ ตัว ( แทนวิญญาณของผู้ตาย ) นอกจากนั้นยังมีพานสำหรับยกคร
ู ( คาย )ประกอบด้วยขันธ์ ห้าคือ เทียน ๕ คู่ ดอกไม้สีขาวเช่นดอกจำปา ( ลั่นทม) ๕ คู่ เหรียญเงิน ๑๒ บาท ไข่ไก่ดิบหนึ่งฟอง ดาบโบราณหนึ่งเล่ม ขันหมากหนึ่งขันมีดอกไม้อยู่ในขันหมาก ๑ คู่ เทียน ๑ คู่ เทียน ๑ คู่ พร้อมด้วยบุหรี่มวนด้วยใบตองและเทียนสำหรับจุดทำพิธี ๑ เล่ม ล่ามหรือหมอ ผีจะเป็นผู้กระทำพิธีและสอบถาม
วิญญาณของผู้ตาย เมื่อทราบความต้องการของวิญญาณของผู้ตายแล้วญาติก็จะจัดหาสิ่งของไว้
บวงสรวงดวงวิญญาณ
๓.พิธ๊เหยา ในการักษาคนเจ็บป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายกับพิธีกรรมของชาวไทยอีสานทั่วทั่วไปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้เจ็บป่วย โดยหมอผีจะทำหน้าที่ เป็นล่ามสอบวิญญาณของบรรพบุรุษได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงเกินไปหรือผิดจารีตประเพณีอย่างไรบ้าง
ชาวไทยกะโซ่มักมีผิวกายดำคล้ำ เช่นเดียวกับพวกข่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกการแต่งกายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ๔ ภาค เมื่อ ๒๔๔๙ ไว้ว่า “...ผู้หญิงไว้ผมสูง นุ่งซิ่นสรวมเสื้อกระบอกย้อมคราม ห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่งกายอย่างคนเมือง แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหนึ่ง....”

3. ชาวข่า หรือ บรู

ชาวข่า หรือ บรู

ข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร ชาวข่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแขวงสุวรรณเขตแขวงสาลวัน
และแขวงอัตปือ ของลาว ซึ่งเมื่อร้อยปีก่อน (ก่อน พ.ศ. 2436) ยังเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยชาวข่า อพยพมาตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นส่วนมากนักมานุษยวิทยาถือว่า ชาวข่าเป็น
ชนเผ่าหนึ่งในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอาจสืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณ ซึ่งเคยอยู่ในดินแดนของอาณาจักร
เจนละซึ่งต่อมาเป็นอาณาจักรขอมและอาณาจักรศรีโคตรบรูณ์ซึ่งขอมเคยมีอิทธิพลครอบคลุมขึ้นมาถึง
แล้วเสื่อมอำนาจลง ซึ่งพวกข่าอยู่ในตระกูลเดียวกับขอมและมอญเขมร


ภาษาข่า เป็นภาษาในตระกูล ออสโตรอาเซียติค สาขามอญ เขมร ชาวข่ายัง
แบ่งแยกกันอีก เป็นหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ข่าย่าเหิน
ข่าบริเวณ ข่าสุข่าตะโอย ข่าสอก ข่าสปวน ฯลฯ
เป็นต้น ชาวข่า มิได้เรียกตัวเองว่า ข่า แต่เรียก
ตัวเองว่าเป็น พวกบรู ซึ่งแปลว่า ภูเขา คำว่า ข่า เป็นชื่อที่ชาวอีสาน เรียกขานชาวบรู คำว่า ข่า อาจจะมาจากคำว่าข้าทาส ซึ่งชาวอีสานชอบเรียก
ชาวข้าทาสว่า ข่า หรือ ข่อย ซึ่งหมายถึง ข้า หรือ ทาส แต่ชอบออกเสียงไม้โทเป็นไม้เอกคือคำว่า ข้าเป็น ข่าเพราะว่าในอดีตชาวไทยในแถบลุ่มแม่
น้ำโขง ชอบไปจับ เอาชาวข่า(บรู)ตามป่าดงมา
เป็นข้าทาสในสมัยรัชกาลที่ 5จึงประกาศห้ามมิให้
ไปจับพวกข่ามาเป็นข้าทาสอีกส่วนในประเทศ
เวียดนามเรียกพวกข่า ว่า พวกมอย (MOI)

ชาวไทยข่า ( บรู )
ชาวข่าในสมัยโบราณเคยมีประวัติว่ามี ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สูงส่งมาก่อน มีความรอบรู้ในการประดิษฐ์
ของใช้ในการดำรงชีวิต เช่น การปั้นไห การหล่อโลหะ (กลองมโหระทึก) นำหินมากรอฟัน ให้ราบเรียบ
สวยงามก่อนเครื่องมือทันตแพทย์สมัยนี้เสียอีก อันเป็นเอกลักษณ์ของพวกข่าชาวข่าดั้งเดิมมักจะมีผิวกาย
ดำคล้ำ ผมหยิกทั้งหญิงและชาย ผู้ชายแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าเตี่ยวมีผมม้ายาว ประบ่าและนิยมใช้ผ้าแดงผูก
คล้องคอหรือโพกศรีษะเป็นเอกลักษณ์ตามประวัติเล่าว่า เนื่องจากบรรพบุรุษของชาวข่าได้ใช้ผ้าชุบเลือดสีแดง
แนบติดกายไว้ก่อนสิ้นชีวิตในการต่อสู้แย่งชิงถิ่นที่อยู่ กับชาวผู้ไทยในอดีต ในดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พวกข่าจึงถือว่าผ้าแดงเป็นเอกลักษณ์ของเขา ส่วนผู้หญิงนิยมแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้า
แต่เปลือยอกท่อนบน ผู้ชายข่าเคยมีประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ มีหน้าไม้พร้อมลูกดอกอาบยาพิษยางหน่อง
(ยางไม้ที่มียาพิษรสชาติขม) เป็นอาวุธประจำกาย แม้ในสมัยที่ดินแดนลาวยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่
ทหารข่าของฝรั่งเศสบางหน่วยยังนิยมใช้หน้าไม้เป็นอาวุธอยู่ ปัจจุบันในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวัน
และแขวงอัตปือ ของลาว ก็ยังมีข้ารัฐการที่เป็นพวกข่ารับราชการอยู่ในตำแหน่งสูง ๆ อยู่ไม่น้อยใน
จังหวัดมุกดาหาร เขตอำเภอเมืองมุกดาหาร ยังมีชาวไทยเชื้อสายข่า อยู่ที่บ้านพังคอง บ้านนาเสือหลาย และ
บ้านหนองยาง ในท้องที่อำเภอดอนตาล มีชาวไทยเชื้อสายข่าอยู่ที่บ้านบาก ในท้องที่อำเภอดงหลวงมีชาวไทย
เชื้อสายข่าอยู่ที่ ตำบลกกตูม บ้านสานแว้ บ้านคำผักกูด บ้านโคกกุง บ้านปากช่อง บ้านหินกอง ซึ่งในเขต
ภูพานต่อเขตกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัด สกลนคร จนมีคำกล่าวในอดีตว่า บ้านคำผักแพว แปวป่องฟ้า
พาเซโต โซไม้แก่นแท่นหินลับ ซับห้วยแข้ แง้หอยมะบาน ด่านสามหัวขัว น้ำบ่อบุ้น ยางสามต้น อ้นสามขุย
ซึ่งปัจจุบันนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ที่อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ได้อพยพพวกไทยข่า (บรู) จากภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อ 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
จำนวน หลายร้อยครอบครัว ไปอยู่ที่ หมู่บ้านร่มเกล้า ของนิคมสร้างตนเองคำสร้อยโดยได้จัดสรรที่ดินให้ทำกิน
และปลูกบ้านเรือนให้เป็นหมู่บ้านชาวไทยข่าตลอดทั้งได้ช่วยเหลือให้ราษฏรเหล่านี้สามารถเลี้ยงตัวเองได้
และพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านที่เท่าเทียมกับหมู่บ้านอื่น ๆ
วิถีชีวิตและอุปนิสัย ชาวไทยข่าเป็นชนเผ่าที่ขยันขันแข็ง หมั่นเพียรสูง มีความอดทน มีภษาพูดเป็นของ
ตัวเอง ในอดีตนั้นภาษาของชาวไทยข่า ไม่มีโคลงเคล้าของภาษา อีสานปนอยู่เลย ชาวไทยข่านั้นเป็นชนเผ่า
มีวิถีชิวิตที่เรียบง่ายไม่ค่อยออกพบปะกับชาวตางถิ่นมากนัก ค่อนข้างจะเก็บตัวอยู่ในเผ่าของตัวเอง ไม่ค่อย
ไว้เนื้อเชื่อใครง่ายนักโดยเฉพาะคนแปลกหน้าจากต่างถิ่น แต่ถ้าคนไหนเป็นที่ไว้วางใจและเชื่อใจจากชาว
ไทยข่า ก็จะได้มิตรไมตรี และมิตรแท้ เหมือนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครับของชาวข่า และสามารถตาย
แทนกันได้ ฉะนั้นหากคนแปลกหน้าต่างถิ่นเข้าไปในชุมชนของชาวไทยข่า ถ้าต้องการมิตรแท้จากชนเผ่า
จะต้องพกเอาความรักความจริงใจ เข้าพบปะกับชนเผ่าและจะได้ มิตรแท้ และไมตรีจิตกลับมาอย่างแน่นอน
จารีตประเพณีของชาวข่า (บรู) การสู่ขอเพื่อขอแต่งงานต้องมีล่าม 4 คน(ชาย 2 หญิง 2)
เทียน4 เล่ม และเงินหนัก 5 บาท เมื่อแต่งงานต้องมีเหล้าอุ(เหล้าไห) 2 ไห ไก่ 2 ตัว ไข่ 8 ฟอง เงินหนัก 2 บาท
หมู 1 ตัว และกำไรเงิน 1 คู่การทำผิดประเพณี (ผิดผี) เช่น ห้ามลูกสะใภ้ เข้าห้องนอนก่อนผัว ห้ามลูกสะใภ้รับของจากพ่อผัวห้ามลูกเขยที่เข้าออกในบ้านออกจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง ลูกเขยพกมีดหรือสวมหมวกเข้าบ้านพ่อตา หรือกินข้าวร่วมกับแม่ยาย การผิดจารีตประเพณี(ผิดผี)
เช่นนี้ ลูกเขยต้องใช้เงิน 5 บาท หมู 1 ตัว ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่บุหรี่พื้นบ้านมวนด้วยใบตอง 2 มวน
หมากพลู 2 คำ นำไปคารวะต่อผี (วิญญาณ)ของบรรพบุรุษที่มุมบ้านด้านตะวันออก หรือที่เตาไฟ
หากเป็นลูกสะใภ้ก็ต้องใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน ผ้าซิ่น 1 ผืน ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่ หมากพลู2 คำ บุหรี่ใบตอง 2 มวน ไปคารวะ ต่อผีช่นเดียวกัน

2. ภูไท

ภูไท



คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่า'ผู้" หรือ "พู้" เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท
( คนเขียน เรียบเรียง บึนทึกลงเว็บไซท์ เป็นคนภูไท โดยกำเนิด )
แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย”ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย
และแค้วนสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทย ซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)
เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม
2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว
รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย"

ดูภาพทั้งหมดของชาวภูไท
ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการ ช่วยปราบกบฏ
ในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบกษัตริย์
เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทาน
พระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่ง เกิดจากพระศรีวรราชหัวหน้าชาวผู้ไทย และ
เจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครอง
หัวเมืองชาวผู้ไทย คือ เมืองสบแอก
เมืองเชียงค้อ เมืองวัง เมืองตะโปน(เซโปน)
พร้อมกับอพยพชาวผู้ไทยลงไปทางใต้ของ
ราชอาณาจักรเวียงจันทน์(ปัจจุบันอยู่ในแขวง
สุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน)

ชาวภูไท
(เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อ
พระราชธรรมเนียมลาวซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479 ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4
และเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ) ต่อมาชาวผู้ไทยได้ แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ของลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ เป็นกบฎต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปปราบปราม
จนสงบราบคาบแล้วทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพพวกผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง ฯลฯ จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ให้มาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เวียงจันทน์ และญวนอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้าม
โขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ...
มีหมู่บ้านเชื้อสายภูไท ร้อยกว่าหมู่บ้านประชากรเกือบ 1 ใน 4 เป็นชาวผู้ไทยซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในท้องที่เมืองต่าง ๆในอดีต คือ
1.เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
3.เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
4. เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง
จำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
5. เมืองหนองสูง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเข ียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจาก
เมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเข ต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้าน
ห้วยปลาแดกและเมื่อยุ บเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอ
เสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58หอสมุดแห่งชาติ)
7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้ วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทย
เมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอย
เขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อ ำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ) อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ มุกดาหาร

1.ไทยอีสาน

ไทยอีสาน
เป็นชาวไทยกลุ่มใหญ่ในจังหวัดมุกดาหาร เช่นเดียวกับชาวไทยอีสานในจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสานอีกหลายจังหวัด ชาวไทยอีสานได้สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมานานนับหลายพันปี ตั้งแต่ขุนบรมปฐมวงศ์ของเผ่าไทย ตั้งแต่อาณาจักรน่านเจ้าอาณาจักรล้านช้างจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนปลาย ชาวไทยอีสานได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขงตั้งแต่ พ.ศ.2231 (สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)
เมื่อท่านพระครูโพนเสม็กนำสานุศิษย์จากอาณาจักรล้านช้างอพยพลงมาตามลำน้ำโขงแล้วแผ่ขยายออกไปตาม
ลำน้ำมูล ลำน้ำชี และลำน้ำอื่น ๆ ซึ่งแยกออกจากแม่น้ำโขง ตั้งเป็นเมืองต่าง ๆ เมืองมุกดาหารได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองเมื่อพ.ศ.2313 ในสมัยกรุงธนบุรี

ชาวไทยอีสาน ในดีตกาลนั้น เป็นักตู้สู้ชีวิต สู้
ทั้งกับภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ เพราะผืนดิน
อีสานเป็น ภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การดูแลทางด้านสุขอนามัย ของทางภาครัฐ
ไม่ค่อยทั่วถึง และหลายพื้นที่ในอดีตเป็นป่าดงดิบ
อยู่ห่างไกล ความเจริญ



บุคคลิกและอุปนิสัย โดยเอกลักษณ์ นิสัยใจคอของชาวอีสานในอดีตส่วนใหญ่แล้ว เป็นคนเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ ดังจะเห็นได้ในหมู่บ้านของชาวอีสานจะมีซุ้มเล็กๆหรือเพิงเล็กๆปลูกไว้หน้าบ้านในซุ้มหรือเพิงเล็กๆนั้น
จะมีตุ่มน้ำเย็นใสสะอาดพร้อมกระบวย ไว้ให้แขกต่างบ้าน หรือใครที่เดินผ่านไปมาได้ตักดื่มกินแก้กระหาย
คนอีสาน เป็นกันเอง กับทุกคน เป็นคนจริงใจ ให้ความไว้วางใจไว้เนื้อเชื่อใจคนง่าย เพราะคนอีสานในอดีต
จะเป็นชนที่ไม่ชอบพูดโกหก หรือพูดปดมดเท็จ ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามศีลห้าค่อนข้างจะเคร่งครัดในศีลธรรม ถ้าใครคนหนึ่งบอกกล่าวหรือเล่าอะไร ก็จะเชื่อตามไปเกือบทั้งหมด นี่เป็นสาเหตุหนึ่งของชนชาวอีสานในอดีต
ที่มักจะถูกหลอกลวงง่าย เพราะเชื่อว่าทุกคนให้ความจริงใจต่อกันและกัน ทำให้มิจฉาชีพบางกลุ่มอาศัย
จุดนี้หลอกลวง ทำมาหากินบนความซื่อของชนชาวไทยอีสานมานักต่อนัก
เอกลักษณ์เด่น อีกอย่างหนึ่งของชาวอีสานคือเป็นน้อมน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูสูง ให้ความเคารพ
นับถือต่อบุพการีให้ความเครพผู้มีพระคุณและผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก จะได้ยิน ผู้มีอายุน้อยกว่าเรียกผู้สูงอายุ
ในเกือบทุกพื้น ที่ว่า "พ่อคุณ" "แม่คุณ" คำว่า"คุณ" ที่ใ้ช้่เรียกชื่อผู้สูงอายุแทนการเรียกชื่อ กับคนที่รู้จัก
และไม่รู้จัก มีความหมายว่า "ผู้มีพระคุณ" คนอีสาน ระลึกเสมอว่า ผู้สูงอายุ เป็นผู้มีพระคุณต่อทุกคน เพราะ
ผู้สูงอายุเป็นผู้มีประสบการ์ืการดำรงชีวิต และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ชนรุ่นหลัง เสมอมา
ชาวอีสาน เป็นชนที่ให้ความเคารพนับถือและปฏิบัติตน เป็นพุทธมามะกะที่ดียึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่ในอดีต
จนมาถึงปัจจุบันดังจะเห็นได้จากการ ทุกเทศกาลสำคัญของไทย ชนชาวไทยอีสานจะตั้งกองกฐิน ผ้าป่า
ไปทอดถวายพระที่บ้านเกิด เพื่อนำรายได้ไปสร้างวัดและบูรณะ ปฏิสังขร วัดวาอารามต่างๆที่บ้านเกิดเมืองนอน ของตนเองเป็นเนืองนิจ คนอีสานเมื่อไปเยี่ยมเยี่ยนเพื่อนบ้านต่างถิ่น สิ่งแรกที่จะมองหานั่นคือวัดวาอาราม
หากหมู่บ้าน แห่งหนตำบลได มีวัดวาอาราม และพระอุโบสถ( สิม )สวยงดงาม จะเป็นที่เชิดหน้าชูตา
ของหมู่บ้านนั้นๆ
ความเชื่อ คนอีสานในอดีตกาลนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ไกปืนเที่ยง การดูแลทางด้านสุขอนามัย
เป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนอีสานจึงหันไปเพิ่งภูตผี คนอีสานนั้นเชื่ิอในเืรื่อง ผี เป็นทุนเดิม
ไม่ว่าจะเป็นผี ของปู่ ย่า ตา ยาย ผีป่า ผีเขา ผีปอบ ฯลฯ ในทุกวันนี้ความเชื่อในเรื่องผี ของชาวอีสานนั้นยังมีอยู่
ยากที่จะลบล้างในความเชื่อนั้น ในขณะเดียวกันบนความเชื่อนั้นนอกจากจะเป็นการเตือนสติ ไม่ให้ประพฤติผิด
ปฏิบัติชั่วแล้ว ยังทำให้เกิดประเพณที่ดีงาม งานบุญต่างๆมากมาย กับคนอีสาน

8 ชนเผ่ามุกดาหาร

จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดในภาคอีสาน เป็นจังหวัดลำดับที่ 73 ของประเทศไทยรัฐบาลได้ออก


พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 ยกฐานะอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด
ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2525
แต่ในอดีตเป็นเมืองชายแดนปลายพระราชอาณาเขตที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่จนจรดแดนญวน
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงษ์ฯ กองทัพกรุงเทพฯ และกองทัพหัวเมือง แถบลุ่มแม่น้ำโขง
ได้ยกทัพข้ามโขงไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง(ดินแดนลาว)ให้อพยพข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง
อยู่ทางฝั่งขวาของ แม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) ให้มากที่สุดเพื่อมิให้เป็นกำลังแก่ข้าศึก จังหวัดชายแดน เช่น
จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ฯลฯ จึงมีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ ร.ศ.112 ราชอาณาจักรไทยต้องเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง(ฝั่งลาว) ไปถึง 3 ใน 4ส่วนการรวบรวมเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดมุกดาหารซึ่งมีอยู่ถึง 8 กลุ่มชาติพันธุ์เพื่อย้อนอดีต
ให้ทราบถึงกลุ่มชาติพันธุ์ (ETHNIC GROUP) ก่อนที่จะมารวมกันเป็นจังหวัดมุกดาหาร








แหล่งอ้างอิง http://www.hellomukdahan.com/thaikhula/thailand-mukdahan-thai-khula-tribe-history-01.php

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาวภูไท ยิ้มกะหวานบาดเจ๋อ







นี่

ลำภูไท






.......................สาวภูไท งามหลาย.....

ชาติพันธ์ภูไทหรือผู้ไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียนคำว่า “ผู้ไทย” นักวิชาการบางท่านใช้ “ภูไท” มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้นสิบสองปันนา ดินแดนส่วนเหนือของลาว และเวียดนามติดต่อกับภาคใต้ของประเทศจีน ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทยให้แก่ ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2431 (รศ. 107)
ในภาคอีสานของไทย ประชาชนทั้งหมดหาได้เป็นลาวทั้งหมด แต่มีชนหลายเผ่าพันธุ์และหลายภาษาปะปนกันอยู่ เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลอุดรและมณฑลอีสานใน พ.ศ. 2449 นั้น ทรงเล่าว่าคนที่อยู่แถวลุ่มแม่น้ำโขงที่แตกต่างไปจากไทยล้านช้างมี 8 พวก หนึ่งใน 8 พวก คือ พวกผู้ไทยอยู่ในเขตเมืองสกลนคร และเรณูนคร (แอ่งอารยธรรมอีสาน, 280) ในบรรดาชนเผ่าต่าง ๆ พวกผู้ไทยนับว่ามีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่สูงกว่าพวกอื่น เพราะเคยอยู่ในบ้านเมืองที่มีความเจริญมาแล้วในเขตสิบสองจุไทถือมีความรุ่งเรืองไม่แพ้พวกล้านช้างนั่นเอง

ถิ่นเดิมก่อนอพยพ ชาวผู้ไทยจำนวนมากอาศัยกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณที่เรียกว่า “สิบสองจุไท” โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำดำ อยู่รวมกับเผ่าอื่น ๆ เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำดำ แหล่งของชาวผู้ไทยแห่งนี้ อาจแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้ไทยบริเวณเมืองไล หรือไลเจา ซึ่งมีชาวผู้ไทยในเมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง เมืองไล รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้จีน อากาศหนาว จึงเป็นผู้ไทยที่มีผิวขาว และรับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายนุ่งขาวห่มขาวในพิธีศพ จึงเรียกผู้ไทยกลุ่มนี้ว่า ผู้ไทยขาว

2. กลุ่มผู้ไทยบริเวณเมืองแถน หรือเมืองเดียนเบียนฟู ในปัจจุบัน ซึ่งมีชาวผู้ไทยอยู่ในเมืองควาย เมืองคุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโม เมืองหวัด เมืองซา รวม 8 เมือง กลุ่มนี้ผิวสีคล้ำกว่าผู้ไทยตอนบน นิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยแม่น้ำดำเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า ผู้ไทดำ
ชาวผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวมกันแล้วจะเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่าแคว้นสิบสองจุไท นอกจากนี้ยังมีชาวผู้ไทกระจัดกระจายตามแม่น้ำแดงในเขตตังเกี๋ยของญวนอีกด้วย

การอพยพเข้าสู่เมืองสกลนคร การอพยพของชาวผู้ไทยจากบริเวณลุ่มน้ำในเขตสิบสองจุไทเข้าสู่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูแหล่งที่อยู่เดิมของชาวผู้ไทดำบริเวณลุ่มแม่น้ำดำที่เมืองแถน ชาวผู้ไทดำได้เผชิญกับอำนาจของชาวผู้ไทยขาว จึงอพยพลงไปอยู่หัวพันทั้งห้าทั้งหก โดยเฉพาะเมืองเชียงขวางได้เป็นแหล่งของชาวผู้ไทยมานานราว 200 - 300 ปีมาแล้ว ต่อมาสันนิษฐานว่าเกิดความแห้งแล้งผู้คนจึงอพยพจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู ประมาณ 10,000 คน เข้าไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์
- การอพยพจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูเข้าสู่เมืองวัง ชาวผู้ไทยที่อพยพมาดั้งเดิมทำไร่ไม่เคยทำนา จึงได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองวัง ซึ่งเป็นป่าดง และภูเขา แต่ยังคงมีปัญหากับพวกข่าซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิม จึงมีการเสี่ยงบุญวาสนาแข่งขันยิงธนูลูกหน้าไม้ให้ติดหน้าผาเพื่อเป็นหัวหน้าปกครอง แต่ปรากฏว่าลูกหน้าไม้ของชาวผู้ไทยติดเพราะมีขี้สูด ต่างกับหน้าไม้ของพวกข่า ซึ่งใหญ่โตและใช้กำลังแรงย่อมไม่อาจแทรกเข้าหินผาได้ เมื่อความทราบถึงเจ้าอนุเมืองเวียงจันทน์ จึงแต่งตั้งท้าวก่าให้เป็นพญาก่าปกครองเมืองวัง และขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์
- จากประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) กองทัพไทยซึ่งมีพระมหาสงครามกับอุปราชเมืองเวียงจันทน์ได้ยกกำลังมากวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองขึ้นเวียงจันทน์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2384 ทำให้ชาวผู้ไทยในเมืองวังต้องรวบรวมกำลังกันสู้พลางหนีเข้าไปอาศัยในดินแดนญวน ปล่อยให้กองทัพไทยเข้าไปทำลายเมืองเสียหาย เมื่อกลับมาที่เมืองวัง ราชวงศ์ (อิน) เมืองสกลนคร เชื้อสายเดิมของเมืองมหาชัยกองแก้ว จึงเกลี้ยกล่อมและได้ตังเจ้าลีหรือโฮงกลางพร้อมด้วยครอบครัวและไพร่พลชาวผู้ไทยอพยพข้ามโขงเข้ามาอยู่ในเมืองสกลนคร โดยตั้งบ้านเมืองที่พังพร้าว แปลว่า รีบด่วน

เส้นทางอพยพของชาวผู้ไทย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เส้นทางเมืองเว้ หรือเรณู คำชะอี หนองสูง
2. เส้นทางที่ต่อจากเรณูแต่เลยไปทางตะวันตก ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สหัสขันธ์ และอำเภอเขาวงกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน
3. ยังไม่สันนิษฐานได้ว่าแยกมาจากเส้นทางที่ 1 หรือเส้นทางที่ 2 แต่มาตั้งที่วาริชภูมิ เมืองจำปา (บ้านนาเหมือง อำเภอพังโคน) บ้านม่วงโพนไค (อ.บ้านม่วง สกลนคร)

ความเชื่อทางศาสนาของชาวผู้ไทย เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เชื่อภูตผีวิญญาณที่ทำให้ป่วยไข้ เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เชื่อหลักพุทธศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตร ความเชื่อคติพราหมณ์แบบชาวบ้าน

พิธีกรรมกับศาสนาของชาวผู้ไทย ความแตกต่างของพิธีกรรมขึ้นอยู่กับประเภทของผีแต่ละชนิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ผีฟ้าหรือเทวดา
2. ผีเจ้าหรือเจ้าผี
3. ผีเลวหรือผีสัญญา เช่น ผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ตา ผีตระกูล ผีเรือน

ความเชื่อเรื่องผีมเหสักข์ของชาวผู้ไทย พรรณานิคม เรียกผีเจ้าปู่ บางคนเรียกเจ้าหาญแดงจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 19 ค่ำ เดือน 4 โดยนำข้าวปลาอาหาร ซึ่งนิยมอาหารคาวเลือด ชาวบ้านจึงนำควายไปฆ่าที่ป่าหน้าศาล แล้วทำลาบพร้อมใส่เลือดสด ๆ ผสมคลุกข้าว จัด 8 สำรับ ไปถวาย และขาดไม่ได้คือเหล้า โดยมีผู้ทำพิธีกรรมที่เริ่มด้วยพิธีกร คือ จ้ำ หรือกวานจ้ำ
ความเชื่อเรื่องผีนา คือ ผีที่อยู่ตามทุ่งนาเพื่อคุ้มครอง จะเริ่มทำพิธีกรรมนี้ในต้นฤดูฝนก่อนการไถคราด พิธีบูชาทำง่าย ๆ คือ นำข้าวปลาอาหารใส่กระทง รวมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน พิธีนี้เรียกว่า เลี้ยงผีตาแฮก หรือเลี้ยงผีครั้งแรก

ความเชื่อเรื่องผีเรือน คือ ผีของบรรพบุรุษ ผีลูกหลานที่เคยอยู่ในบ้านเรือนหรือไม่ได้อยู่บ้านเรือน ที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นผีเรือนจึงมีหลายตน เช่น ผีอารักษ์ใหญ่ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง ผีปู่หรือผีตระกูล เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเจ้าของบ้านมากที่สุด และเป็นใหญ่อยู่ในบ้านเรือน

ความเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล ความเชื่อทางไสยศาสตร์ เซอร์ เจมส์ เฟรเซอร์ เป็นคนแรกที่ศึกษาเรื่องไสยศาสตร์กับการรักษาคนไข้ วิธีการรักษาจะต้องแก้ด้วยผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติจะเกิดจากผู้ที่ใช้ คือ หมอผี ไม่ใช่รักษาด้วยสมุนไพร หรือยาตำราหลวง และยังมีความเชื่อที่ว่าอาจจะเกิดการจากผู้ที่ใช้คาถาอาคม




ที่มา : เอกสารประกอบการสอนวิชาวัฒธรรมแอ่งสกลนคร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2548.

หอมกรุ่นกลิ่นสาว ชาวภูไท




อ้างอิงจาก www.thaihof.org/content/หอมกรุ่นกลิ่นสาว-ชาวภูไท


ชาว ภูไทเป็นหนึ่งในชนพื้นเมืองที่มาอาศัยในดินแดนสยาม ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยคนทั่วไปมักจะซาบซึ้งถึงชาวภูไทในเรื่องของความสุภาพนุ่มนวล และความงดงามของสตรีชาวภูไท ปัจจุบันเมื่อการท่องเที่ยวแทรกซึมเข้าไปในชุมชน วัฒนธรรมและศิลปะเฉพาะตัวเช่นภูไทได้รับความสนใจอย่างมาก ถึงขนาดมีทัวร์และโฮมเสตย์ให้เยี่ยมชมและพักแรมในหมู่บ้านภูไทเลยทีเดียว

ความที่ชาวภูไทมีพื้นเพสืบสายมายาวนาน ย่อมมีของดีติดตัวตามสไตล์ภูไท คนในยุคดิจิตอลสืบค้นลงไปในสารสังเคราะห์ แต่ชาวภูไทกลับนำเอาสมุนไพรใกล้ตัวนำมาใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพผิวพรรณของตัว เอง และยังมีสรรพคุณแบบทูอินวัน คือ สุขกายและหอมชื่นใจด้วย

ตำรับความงามของสาวภูไทที่จะเล่าให้ฟังนี้ ได้มาจากการทำงานเก็บข้อมูลของคณะวิจัย นำทีมโดย ดร.อุษา กลิ่นหอม แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงพื้นที่ไปเรียนรู้ในชุมชน พบกับผู้ใช้ตัวจริงเสียงจริงที่นำชีวิตทั้งชีวิตผ่านการศึกษาทดลองมากับตัวเอง ประสบการณ์สูตรความงามเด็ดๆ นี้ ได้รับการเปิดเผยจาก สาวงามวัยเจ็ดสิบอัพ ๑ ท่าน และหกสิบอัพ ๒ ท่าน คือ คุณแม่กอง คำสุรินทร์ อายุ 73 ปี แม่สา คำสุข อายุ 68 ปี และแม่เจริญศรี โพธิ์เมือง อายุ 60 ปี ซึ่งทั้งสามท่านนี้อยู่ที่ บ้านดงคำเดือย ต. คำเขื่อนแก้ว อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ

ผู้อ่านอาจนึกแปลกใจว่า สาวภูไทและวัฒนธรรมของชาวภูไทที่คนทั่วไปรู้จักต้องไปที่ จ.สกลนครมิใช่หรือ คำตอบคือถูกต้อง แต่ไม่ถูกทั้งหมด เนื่องจากประวัติศาสตร์การเข้าตั้งถิ่นฐานของชาวภูไทในดินแดนสยามของเรานั้น มีด้วยกันหลายครั้ง ในสมัยกรุงธนบุรี ๑ ครั้ง ตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ๒ ครั้ง คือ รัชกาลที่ ๑ และ รัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นสมัยที่มีการเข้ามาของชาวภูไทมากที่สุด หรือเป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ใน ประเทศไทย มีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลาง เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น

ชาวภูไทที่เข้ามาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๓ ตามประวัติศาสตร์แบ่งออกได้ถึง ๘ กลุ่ม ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ขยายชุมชนของตนออกไป โดยที่มีแหล่งพักพิงที่ต่างกันออกไปด้วย นับได้ถึง ๙ จังหวัด ๓๓ อำเภอ ๔๙๔ หมู่บ้านสำหรับชาวภูไทในจังหวัดสกลนคร ถือเป็นชาวภูไทกลุ่มใหญ่ที่สุดก็ได้ เพราะมีชาวภูไทอยู่ถึง ๙ อำเภอ ๒๑๒ หมู่บ้าน จังหวัดนครพนม 5 อำเภอ 131 หมู่บ้าน จังหวัดมุกดาหาร 5 อำเภอ 68 หมู่บ้าน จังหวัดกาฬสินธุ์ 5 อำเภอ 63 หมู่บ้าน จังหวัดหนองคาย 3 อำเภอ 6 หมู่บ้าน จังหวัดอำนาจเจริญ 2 อำเภอ 5 หมู่บ้านจังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

ดังนั้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน บ้านของสตรีภูไทที่ให้ข้อมูลไว้ คือ หนึ่งในสองอำเภอที่ชาวภูไทตั้งถิ่นฐานมานานนับร้อยๆ ปี ซึ่งกลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสาวชนเผ่าภูไทนี้ หากใครมีโอกาสได้มาเยือนบ้านดงคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ก็จะได้สัมผัสกับกลิ่นหอมพิเศษสุด จากแป้งหอมภูไท ใครได้ดมกลิ่นแล้วจะติดตรึงใจไปอีกนาน

ในหมู่บ้านดงคำเดือยนี้ สตรีชนเผ่าภูไทแทบทุกครัวเรือนรู้จักปรุงใช้กันทุกคน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของการพึ่งพาตนเองและใช้ชีวิตแบบพอเพียง เนื่องจากแป้งหอมนั้นได้มาจากไม้หอมที่ปลูกอยู่แล้วในครัวเรือน นอกจากความหอมเฉพาะแล้วแป้งหอมยังใช้ทาแก้ผดผื่นคัน และช่วยให้ผิวพรรณสดใสตามแบบฉบับของหญิงสาวชาวภูไท ดังกลอนนิรนาม

“กลิ่นหอมหวลยวนใจชวนคิดถึง
เฝ้าคะนึงหลงใหลในความหอม
กลิ่นหอมอื่นหมื่นใดไม่อาทร
สุดอาวรณ์หอมกลิ่นแป้งแห่งภูไท”

ส่วนประกอบของแป้งหอมภูไท ๑.เครือตั้งตุ่น ๒.ใบอ้ม ๓.ใบคำพอง ๔.ขมิ้น ๕.ใบเนียม ๖.ใบคุด ๗.ว่านหอม ๘.ใบเสน ๙.รากแนงหอม

วิธีปรุง นำส่วนผสมทั้งหมดมาฝานเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเอาไปนึ่งรวมกัน โดยให้ใช้ใบ
ตองห่อส่วนผสมทั้งหมดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหอมหรือกลิ่นระเหยออกไปหมด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วก็เอา
ส่วนผสมทั้งหมดมาตากแดดให้แห้งจนกรอบ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดให้เป็นผง

วิธีใช้ นำผงแป้งหอมมาผสมกับขมิ้นแล้วทาบริเวณผิวหนังและร่างกายตามที่ต้องการ
สรรพคุณ กลิ่นจะคล้ายยาหอมขับลม ใช้ดมแก้งวิงเวียน ใช้ทาแก้ผดผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อนตามร่างกาย และเป็นการเพิ่มความหอมให้กับร่างกายได้อีกด้วย และในสมัยโบราณสตรีหลังคลอดบุตรจะใช้ทาผิว ทำให้ผิวพรรณสวยงามเหมือนเมื่อครั้งที่ยังเป็นสาวก่อนคลอดบุตร

นอกจากนี้ชาวภูไทสมัยโบราณจะใช้ผงแป้งหอมผสมกับขี้ผุยมะพร้าว และน้ำยางบง เพื่อทำเป็นธูปหอมจุดให้ควันหอมอบอวลทั้งบ้าน อยากกระซิบว่าเจ้าหน้าที่มูลนิธิสุขภาพไทย นำเอาผงแป้งหอมชาวภูไท มาจากงามมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ ๓ ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ(สสส.) และเครือมติชน


นำมาใส่ไว้ในรถยนต์ พอถูกแดดจัดๆ ในเมืองกรุง กลิ่นหอมอ่อนจากในถุงพลาสติกช่วยให้ขับรถในเมืองคลายเครียดไปได้มากจ๊ะ.