วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

6.ชาวไทยแสก

ชาวแสก
แสก คือ คนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ เมืองแสก เมืองแสกปัจจุบันเป็นเมืองร้าง อยู่บริเวณบ้านหนาด
บ้านตอง ในแขวงคำม่วนของดินแดนลาว และอยู่ห่างจากชายแดนเวียดนามประมาณ 20 กิโลเมตร(จากเอกสาร ร.5 ม,212 ก.หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)เมืองแสกเคยอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ก่อน ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)
เป็นภาษาไทยลาว ปนญวน เพราะว่าอยู่ใกล้ชิดติดกับเขตแดนญวนและมีขนบธรรมเนียมของญวน (เวียดนาม



ปะปนอยู่ด้วยเช่น ตรุษแสกหรือตรุษญวน
(กินเตดหรือ กินเตนเคน) ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3
เพื่อบวงสรวงดวงวิญญาณของ เจ้าองค์มู
(องค์มู –เป็นชื่อในภาษาญวน) ซึ่งชาวแสกถือว่า
เป็นบรรพบุรุษที่ช่วยคุ้มครองรักษาชาวแสก
ให้ปราศจากภยันตรายทั้งปวงชาว แสกเคยมี ประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ ในสมัยรัชกาลที่ 3
เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
แม่ทัพไทยซึ่งยกทัพไปปราบปราม
เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ และไปตั้งทัพอยู่ที่
เมืองนคร ได้แต่งตั้งให้ ฆานบุดดี หัวหน้าชาวแสกเป็น หัวหน้ากองอาทมาต

ชาวไทยแสกเต้นสาก
เป็นกองลาดตะเวนรักษาชายแดนพระราชอาณาเขตซึ่งติดกับเขตแดนญวน ต่อมาได้อพยพชาวแสกให้มาตั้ง
บ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองนครพนม เมืองสกลนคร และเมืองมุกดาหารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ฆานบุดดีเป็น หลวงตาเอกอาษา เจ้าเมืองอาทมาตขึ้นเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)ไทยแสกได้กระจัดกระจายอยู่ในท้องที่
เมืองสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ผู้หญิงแสกนิยมการแต่งกายที่แปลกกว่าที่ชาวอีสานทั่วไป คือ นุ่งผ้าซิ่นสองชั้นและปล่อยให้ผ้าซิ่นชั้นในแลบออกมา เป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิงชาวแสก ศิลปวัฒนธรรม
ดั้งเดิมของชาวแสก คือ แสกเต้นสาก หรือ รำลาวกระทบไม้ แม้ในปัจจุบันก็ยังนิยมเล่นกันอยู่ในเทศกาล
เดือน 3 (ตรุษแสก) ทุกปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเล่าถึงการแสดงแสกเต้นสาก เมื่อ เสด็จตรวจราชการเมืองนครพนม เมื่อพ.ศ. 2449 ไว้ว่า “เขาพาพวกผู้หญิงแสกมาเล่นให้ฉันดูอย่างหนึ่งเรียกว่า แสกเต้นสาก มีผู้หญิง 10 คู่ นั่งหันหน้าเข้าหากัน
เรียงเป็นแถว แต่ละคนถือปลายไม้พลองมือละอันทั้งสองข้าง วางไม้พลองบนไม้ขอนที่วางทอดไว้ตรงหน้า
สองท่อนมีทางอยู่ตรงกลาง เวลาเล่น 10 คู่ นั้น ขับร้องแล้วเอาไม้พลองที่ถือลงกระทบไม้ขอนพร้อม ๆ กันเป็นจังหวะ จังหวะหนึ่ง จังหวะสอง ไม้พลองห่างกัน จังหวะที่สามรวบไม้พลองเข้าชิดกัน มีผู้หญิงสาว 4 คน ผลัดกันเต้นทีละคู่ เต้นตามจังหวะไปในระหว่างช่องไม้พลองที่คนถือนั้น 10 คู่ ต้องระวังเมื่อถึงจังหวะที่สาม อย่าให้ไม้พลองหนีบข้อตีน กระบวนเล่นมีเท่านี้....”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น