วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

4. ชาวไทยกะโซ่

ชาวไทยกะโซ่



ไทกะโซ่
ไทกะโซ่ หรือไทยกะโซ่ หรือโซ่ ในพจนานุกรมฉบัับราชฐานบัณฑิตสถาน
เขียนว่า กะโซ่แต่ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวก
เดียวกันกับลาวโซ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี ,นครปฐม
และสุพรรณบุรี แต่แท้จริงแล้ว ลาวโซ่งคือพวก ไทยดำ ที่อพยพมาจากเมืองแถน
หรือเดียน เบียนฟู ในสมัยกรุงธนบุรี ส่วนคำว่า
กะโซ่ หมายถึง ข่าพวกหนึ่งในตระกูลมอญเขมร
กะโซ่ตามลักษณะและชาติพันธ์ถือว่าอยู่ในกลุ่ม
มองโกลอยด์ กะโซ่มีภาษา และวัฒนธรรม
แตกต่างไปจากพวกข่าอยู่บ้าง เล็กน้อย แต่ภาษาของกะโซ่ ยังถือว่าอยู่ในตระกูล ออสโตรอาเซียติค สาขามอญเขมรหรือ กะตุ
( Katuic)
ชาวไทกะโซ่
ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวกะโซ่ อยู่ที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน และแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว ส่วนข่า
อีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากแขวงอัตปือของลาวไปอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ เรียกว่า ส่วย หรือ กุย
พูดภาษาเดียวกันกับพวกกะโซ่ พวกกะโซ่ที่อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาในสมันรัชกาลที่ ๓ ได้ตั้งบ้าน ตั้งเมือง
หลายเมือง คือ
๑. เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเชียงฮ่ม ( อยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาว )ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช
ขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ท้าวบัวจากเมืองเชียงฮ่ม เปพระอุทัยประเทศ เจ้าเมือง ปัจจุบันยุบรวมเป็นตำบล รามราชขึ้นอำเภอท่าอุ้ทน จังหวัดนครพนม
๒ เมืองกุสุมาลย์มณฑล เป็นชาวกะโซ่ที่อพยพมาจากเมืองมหาชัย ( อยู่ในแขวงคำม่วนของลาว) อพยพมาตั้งอยู่ที่ บ้านกุดสมาร ตั้งขึ้นเป็นเมือง กุสุมาลย์มณฑล ขึ้นเมืองสกลนคร เมื่อ พ .ศ .๒๓๘๗ ทรงพระกรุณาปรดเกล้า ให้ตั้งเพี้ยเมืองสูง หัวหน้าชาวกะโซเป็น พระอรัญอาษา เจ้าเมือง ปัจจบันคือท้องที่ อำเภอ กุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังมีชาวกะโซ่อยู่ในท้องที่ อำเภอปาปาก จังหวักนครพนมอีกเช่นที่ตำบลโคกสูง และที่บ้านวังตามัว เขตอำเภอเมืองนครพนม ในจังหวัดมุกดาหารมีชาวกะโซอยู่ในท้องที่อำเภอดงหลวง เป็นส่วนมาก อพยพเข้ามาในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ ๒๓๕๙ หัวหน้าชาวกะโซ่ อำเภอดงหลวงต่อมาได้เป็นกำนันซึ่งบรรดาศักดิ์ว่า หลวงวาโนไพรพฤกษ์ ชาวกะโซในอำเภอดงหลวง ส่วนมาก จะใช้นามสกุลเดียวกันหมดคือ วงศ์กะโซ่
วัฒนธรรมของชาวกะโซ่ ที่ยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื้อชาติที่เด่นชัดก็คือ พิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง หรือสลา เป็นพิธีกรรมในการบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือการเรียกขวัญรักษาคนเจ็บไข้ และพิธีกรรม ซางกระมูด ในงานศพ
พิธีกรรมของชาวกะโซ่
๑.พิธีกรรมโซ่ถั้งบั้ง เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ คำว่า โซ หมายถึงชาวกะโซ่ คำว่าถั่ง หมายถึง กระทุ้ง หรือกระแทก คำว่าบั้ง หมายถึง บ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ โซ่ถั่งบั้งคือพิธีกรรมที่ใช้กระบอกไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ปล้อง กระทังดินเป็นจังหวะ มีการร่ายรำและร้องรำ ไปตามจังหวะ ซึ่งเสด็จพระบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชการภาคอีสาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ ( อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ) ซึ่งเป็นชาวกะโซ่ได้ทรงบันทึกการแสดง โซ่ถั่งบั้ง หรือ สลา ในการรับเสด็จว่า “ ...สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้ว มีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสพายหน้าไม้และลูกสำหรับคนยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่า พะเนาะคนหนึ่ง คึนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือตะแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง คนถือสิ่วหักสำหรับเคาะจัวหวะคนหนึ่ง รวม ๘ คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมาพอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป...”
๒.พิธีซางกระมูด เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ก่อนนำศพลงจากบ้านเรือน คำว่า ซาง หมายถึง การกระทำหรือจักดระเบียบ กระมูด แปลว่า ผี ซางกระมูดหมายถึงการจัดพิธีเกี่ยวกับคนตาย ชาวกะโซ่ถือว่าเมื่อ คนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ จึงต้องกระทำพิธีซางกะมูดเสียก่อนเพื่อให้ผีดิบหรือและวิญญาณของผผู้ตาย
ได้สงบสุข มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องของผู้จายเจ็บป่วยได้อีก
อุปกรณ์ในพิธีซางกะมูด ประกอบไปด้วยขันโตก ( ขันกระหย่องสานด้วยไม้ไผ่ ) สองใบเป็นภาชนะ ใส่อุปกรณืต่างๆ มีไม้ไผ่สานเป็นรูปจักจั่น ๔ ตัว ( แทนวิญญาณของผู้ตาย ) นอกจากนั้นยังมีพานสำหรับยกคร
ู ( คาย )ประกอบด้วยขันธ์ ห้าคือ เทียน ๕ คู่ ดอกไม้สีขาวเช่นดอกจำปา ( ลั่นทม) ๕ คู่ เหรียญเงิน ๑๒ บาท ไข่ไก่ดิบหนึ่งฟอง ดาบโบราณหนึ่งเล่ม ขันหมากหนึ่งขันมีดอกไม้อยู่ในขันหมาก ๑ คู่ เทียน ๑ คู่ เทียน ๑ คู่ พร้อมด้วยบุหรี่มวนด้วยใบตองและเทียนสำหรับจุดทำพิธี ๑ เล่ม ล่ามหรือหมอ ผีจะเป็นผู้กระทำพิธีและสอบถาม
วิญญาณของผู้ตาย เมื่อทราบความต้องการของวิญญาณของผู้ตายแล้วญาติก็จะจัดหาสิ่งของไว้
บวงสรวงดวงวิญญาณ
๓.พิธ๊เหยา ในการักษาคนเจ็บป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายกับพิธีกรรมของชาวไทยอีสานทั่วทั่วไปเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้เจ็บป่วย โดยหมอผีจะทำหน้าที่ เป็นล่ามสอบวิญญาณของบรรพบุรุษได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงเกินไปหรือผิดจารีตประเพณีอย่างไรบ้าง
ชาวไทยกะโซ่มักมีผิวกายดำคล้ำ เช่นเดียวกับพวกข่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกการแต่งกายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ๔ ภาค เมื่อ ๒๔๔๙ ไว้ว่า “...ผู้หญิงไว้ผมสูง นุ่งซิ่นสรวมเสื้อกระบอกย้อมคราม ห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่งกายอย่างคนเมือง แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหนึ่ง....”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น