วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

7. ไทยย้อ

ชาวย้อ
ไทยย้อเป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักเรียกตัวเองว่า ไทยย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร , ชาวย้อ ในตำบลท่าขอนยาง(เมืองท่าขอนยาง) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม , ชาวย้อ ในอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และชาวย้อในตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร



ภาษาและสำเนียงของชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไป
จากชาวอีสานทั่วไปบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิม
ของชาวย้อ มีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่แคว้นสิบสอง
ปันนา หรือ ยูนาน ต่อมาชาวย้อบางพวกได
้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง เพื่อเลือกหาที่ตั้ง
บ้านตั้งเมืองที่อุดมสมบรูณ์กว่า
ที่อยู่เดิมจนในที่สุดชาวย้อกลุ่มหนึ่งได้พบว่า
ตรงปากน้ำสงครามริมฝั่งโขงเป็นที่อุดมสมบรูณ์
มีปลาชุกชุม จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองไชยบุรี
เมื่อ พ.ศ.2350 (สมัยราชกาลที่ 1)

ชาวไทยย้อ
ต่อมาเมื่อเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2369 ไทยย้อเมืองไชยบุรี
ถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์กวาดต้อนให้อพยพข้ามโขงไปด้วย โดยให้ไปตั้งอยู่ที่เมืองหลวงปุงเลง เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ในแขวงคำม่วน ของลาว ต่อมากองทัพไทย ได้กวาดต้อนให้ไทยย้อ ให้อพยพข้ามโขง กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไทยย้อกลุ่มหนึ่งตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทน
เมื่อ พ.ศ.2373 ให้ไทยย้อที่อพยพข้ามโขงมาตั้งที่บ้านท่าขอนยาง เป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)ให้ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิดเป็นพระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง จึงมีไทยย้อ ที่ตำบลท่าขอนยาง บ้านกุดน้ำใส บ้านยาง บ้านลิ้นฟ้า บ้านโพน และยังมี
ไทยย้อที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม บ้านจำปา บ้านดอกนอ บ้านปุ่งเป้า บ้านนาสีนวน อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม บ้านหนองแวง บ้านสา อำเภอยางตลาด บ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไทยย้อเมืองสกลนคร อพยพมาจากเมืองมหาชัย (แขวงคำม่วนของลาว) มาตั้งอยู่ริมน้ำหนองหานสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.2381
(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)ในจังหวัดมุกดาหารมีไทยย้อที่อพยพมาจาก
เมืองคำม่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร และอยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อย
อีกหลายหมู่บ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น