วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาวภูไท ยิ้มกะหวานบาดเจ๋อ







นี่

ลำภูไท






.......................สาวภูไท งามหลาย.....

ชาติพันธ์ภูไทหรือผู้ไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียนคำว่า “ผู้ไทย” นักวิชาการบางท่านใช้ “ภูไท” มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้นสิบสองปันนา ดินแดนส่วนเหนือของลาว และเวียดนามติดต่อกับภาคใต้ของประเทศจีน ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทยให้แก่ ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2431 (รศ. 107)
ในภาคอีสานของไทย ประชาชนทั้งหมดหาได้เป็นลาวทั้งหมด แต่มีชนหลายเผ่าพันธุ์และหลายภาษาปะปนกันอยู่ เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลอุดรและมณฑลอีสานใน พ.ศ. 2449 นั้น ทรงเล่าว่าคนที่อยู่แถวลุ่มแม่น้ำโขงที่แตกต่างไปจากไทยล้านช้างมี 8 พวก หนึ่งใน 8 พวก คือ พวกผู้ไทยอยู่ในเขตเมืองสกลนคร และเรณูนคร (แอ่งอารยธรรมอีสาน, 280) ในบรรดาชนเผ่าต่าง ๆ พวกผู้ไทยนับว่ามีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่สูงกว่าพวกอื่น เพราะเคยอยู่ในบ้านเมืองที่มีความเจริญมาแล้วในเขตสิบสองจุไทถือมีความรุ่งเรืองไม่แพ้พวกล้านช้างนั่นเอง

ถิ่นเดิมก่อนอพยพ ชาวผู้ไทยจำนวนมากอาศัยกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณที่เรียกว่า “สิบสองจุไท” โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำดำ อยู่รวมกับเผ่าอื่น ๆ เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำดำ แหล่งของชาวผู้ไทยแห่งนี้ อาจแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้ไทยบริเวณเมืองไล หรือไลเจา ซึ่งมีชาวผู้ไทยในเมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง เมืองไล รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้จีน อากาศหนาว จึงเป็นผู้ไทยที่มีผิวขาว และรับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายนุ่งขาวห่มขาวในพิธีศพ จึงเรียกผู้ไทยกลุ่มนี้ว่า ผู้ไทยขาว

2. กลุ่มผู้ไทยบริเวณเมืองแถน หรือเมืองเดียนเบียนฟู ในปัจจุบัน ซึ่งมีชาวผู้ไทยอยู่ในเมืองควาย เมืองคุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโม เมืองหวัด เมืองซา รวม 8 เมือง กลุ่มนี้ผิวสีคล้ำกว่าผู้ไทยตอนบน นิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยแม่น้ำดำเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า ผู้ไทดำ
ชาวผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวมกันแล้วจะเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่าแคว้นสิบสองจุไท นอกจากนี้ยังมีชาวผู้ไทกระจัดกระจายตามแม่น้ำแดงในเขตตังเกี๋ยของญวนอีกด้วย

การอพยพเข้าสู่เมืองสกลนคร การอพยพของชาวผู้ไทยจากบริเวณลุ่มน้ำในเขตสิบสองจุไทเข้าสู่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูแหล่งที่อยู่เดิมของชาวผู้ไทดำบริเวณลุ่มแม่น้ำดำที่เมืองแถน ชาวผู้ไทดำได้เผชิญกับอำนาจของชาวผู้ไทยขาว จึงอพยพลงไปอยู่หัวพันทั้งห้าทั้งหก โดยเฉพาะเมืองเชียงขวางได้เป็นแหล่งของชาวผู้ไทยมานานราว 200 - 300 ปีมาแล้ว ต่อมาสันนิษฐานว่าเกิดความแห้งแล้งผู้คนจึงอพยพจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู ประมาณ 10,000 คน เข้าไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์
- การอพยพจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูเข้าสู่เมืองวัง ชาวผู้ไทยที่อพยพมาดั้งเดิมทำไร่ไม่เคยทำนา จึงได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองวัง ซึ่งเป็นป่าดง และภูเขา แต่ยังคงมีปัญหากับพวกข่าซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิม จึงมีการเสี่ยงบุญวาสนาแข่งขันยิงธนูลูกหน้าไม้ให้ติดหน้าผาเพื่อเป็นหัวหน้าปกครอง แต่ปรากฏว่าลูกหน้าไม้ของชาวผู้ไทยติดเพราะมีขี้สูด ต่างกับหน้าไม้ของพวกข่า ซึ่งใหญ่โตและใช้กำลังแรงย่อมไม่อาจแทรกเข้าหินผาได้ เมื่อความทราบถึงเจ้าอนุเมืองเวียงจันทน์ จึงแต่งตั้งท้าวก่าให้เป็นพญาก่าปกครองเมืองวัง และขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์
- จากประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) กองทัพไทยซึ่งมีพระมหาสงครามกับอุปราชเมืองเวียงจันทน์ได้ยกกำลังมากวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองขึ้นเวียงจันทน์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2384 ทำให้ชาวผู้ไทยในเมืองวังต้องรวบรวมกำลังกันสู้พลางหนีเข้าไปอาศัยในดินแดนญวน ปล่อยให้กองทัพไทยเข้าไปทำลายเมืองเสียหาย เมื่อกลับมาที่เมืองวัง ราชวงศ์ (อิน) เมืองสกลนคร เชื้อสายเดิมของเมืองมหาชัยกองแก้ว จึงเกลี้ยกล่อมและได้ตังเจ้าลีหรือโฮงกลางพร้อมด้วยครอบครัวและไพร่พลชาวผู้ไทยอพยพข้ามโขงเข้ามาอยู่ในเมืองสกลนคร โดยตั้งบ้านเมืองที่พังพร้าว แปลว่า รีบด่วน

เส้นทางอพยพของชาวผู้ไทย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เส้นทางเมืองเว้ หรือเรณู คำชะอี หนองสูง
2. เส้นทางที่ต่อจากเรณูแต่เลยไปทางตะวันตก ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สหัสขันธ์ และอำเภอเขาวงกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน
3. ยังไม่สันนิษฐานได้ว่าแยกมาจากเส้นทางที่ 1 หรือเส้นทางที่ 2 แต่มาตั้งที่วาริชภูมิ เมืองจำปา (บ้านนาเหมือง อำเภอพังโคน) บ้านม่วงโพนไค (อ.บ้านม่วง สกลนคร)

ความเชื่อทางศาสนาของชาวผู้ไทย เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เชื่อภูตผีวิญญาณที่ทำให้ป่วยไข้ เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เชื่อหลักพุทธศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตร ความเชื่อคติพราหมณ์แบบชาวบ้าน

พิธีกรรมกับศาสนาของชาวผู้ไทย ความแตกต่างของพิธีกรรมขึ้นอยู่กับประเภทของผีแต่ละชนิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ผีฟ้าหรือเทวดา
2. ผีเจ้าหรือเจ้าผี
3. ผีเลวหรือผีสัญญา เช่น ผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ตา ผีตระกูล ผีเรือน

ความเชื่อเรื่องผีมเหสักข์ของชาวผู้ไทย พรรณานิคม เรียกผีเจ้าปู่ บางคนเรียกเจ้าหาญแดงจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 19 ค่ำ เดือน 4 โดยนำข้าวปลาอาหาร ซึ่งนิยมอาหารคาวเลือด ชาวบ้านจึงนำควายไปฆ่าที่ป่าหน้าศาล แล้วทำลาบพร้อมใส่เลือดสด ๆ ผสมคลุกข้าว จัด 8 สำรับ ไปถวาย และขาดไม่ได้คือเหล้า โดยมีผู้ทำพิธีกรรมที่เริ่มด้วยพิธีกร คือ จ้ำ หรือกวานจ้ำ
ความเชื่อเรื่องผีนา คือ ผีที่อยู่ตามทุ่งนาเพื่อคุ้มครอง จะเริ่มทำพิธีกรรมนี้ในต้นฤดูฝนก่อนการไถคราด พิธีบูชาทำง่าย ๆ คือ นำข้าวปลาอาหารใส่กระทง รวมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน พิธีนี้เรียกว่า เลี้ยงผีตาแฮก หรือเลี้ยงผีครั้งแรก

ความเชื่อเรื่องผีเรือน คือ ผีของบรรพบุรุษ ผีลูกหลานที่เคยอยู่ในบ้านเรือนหรือไม่ได้อยู่บ้านเรือน ที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นผีเรือนจึงมีหลายตน เช่น ผีอารักษ์ใหญ่ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง ผีปู่หรือผีตระกูล เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเจ้าของบ้านมากที่สุด และเป็นใหญ่อยู่ในบ้านเรือน

ความเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล ความเชื่อทางไสยศาสตร์ เซอร์ เจมส์ เฟรเซอร์ เป็นคนแรกที่ศึกษาเรื่องไสยศาสตร์กับการรักษาคนไข้ วิธีการรักษาจะต้องแก้ด้วยผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติจะเกิดจากผู้ที่ใช้ คือ หมอผี ไม่ใช่รักษาด้วยสมุนไพร หรือยาตำราหลวง และยังมีความเชื่อที่ว่าอาจจะเกิดการจากผู้ที่ใช้คาถาอาคม




ที่มา : เอกสารประกอบการสอนวิชาวัฒธรรมแอ่งสกลนคร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2548.

หอมกรุ่นกลิ่นสาว ชาวภูไท




อ้างอิงจาก www.thaihof.org/content/หอมกรุ่นกลิ่นสาว-ชาวภูไท


ชาว ภูไทเป็นหนึ่งในชนพื้นเมืองที่มาอาศัยในดินแดนสยาม ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยคนทั่วไปมักจะซาบซึ้งถึงชาวภูไทในเรื่องของความสุภาพนุ่มนวล และความงดงามของสตรีชาวภูไท ปัจจุบันเมื่อการท่องเที่ยวแทรกซึมเข้าไปในชุมชน วัฒนธรรมและศิลปะเฉพาะตัวเช่นภูไทได้รับความสนใจอย่างมาก ถึงขนาดมีทัวร์และโฮมเสตย์ให้เยี่ยมชมและพักแรมในหมู่บ้านภูไทเลยทีเดียว

ความที่ชาวภูไทมีพื้นเพสืบสายมายาวนาน ย่อมมีของดีติดตัวตามสไตล์ภูไท คนในยุคดิจิตอลสืบค้นลงไปในสารสังเคราะห์ แต่ชาวภูไทกลับนำเอาสมุนไพรใกล้ตัวนำมาใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพผิวพรรณของตัว เอง และยังมีสรรพคุณแบบทูอินวัน คือ สุขกายและหอมชื่นใจด้วย

ตำรับความงามของสาวภูไทที่จะเล่าให้ฟังนี้ ได้มาจากการทำงานเก็บข้อมูลของคณะวิจัย นำทีมโดย ดร.อุษา กลิ่นหอม แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงพื้นที่ไปเรียนรู้ในชุมชน พบกับผู้ใช้ตัวจริงเสียงจริงที่นำชีวิตทั้งชีวิตผ่านการศึกษาทดลองมากับตัวเอง ประสบการณ์สูตรความงามเด็ดๆ นี้ ได้รับการเปิดเผยจาก สาวงามวัยเจ็ดสิบอัพ ๑ ท่าน และหกสิบอัพ ๒ ท่าน คือ คุณแม่กอง คำสุรินทร์ อายุ 73 ปี แม่สา คำสุข อายุ 68 ปี และแม่เจริญศรี โพธิ์เมือง อายุ 60 ปี ซึ่งทั้งสามท่านนี้อยู่ที่ บ้านดงคำเดือย ต. คำเขื่อนแก้ว อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ

ผู้อ่านอาจนึกแปลกใจว่า สาวภูไทและวัฒนธรรมของชาวภูไทที่คนทั่วไปรู้จักต้องไปที่ จ.สกลนครมิใช่หรือ คำตอบคือถูกต้อง แต่ไม่ถูกทั้งหมด เนื่องจากประวัติศาสตร์การเข้าตั้งถิ่นฐานของชาวภูไทในดินแดนสยามของเรานั้น มีด้วยกันหลายครั้ง ในสมัยกรุงธนบุรี ๑ ครั้ง ตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ๒ ครั้ง คือ รัชกาลที่ ๑ และ รัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นสมัยที่มีการเข้ามาของชาวภูไทมากที่สุด หรือเป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ใน ประเทศไทย มีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลาง เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น

ชาวภูไทที่เข้ามาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๓ ตามประวัติศาสตร์แบ่งออกได้ถึง ๘ กลุ่ม ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ขยายชุมชนของตนออกไป โดยที่มีแหล่งพักพิงที่ต่างกันออกไปด้วย นับได้ถึง ๙ จังหวัด ๓๓ อำเภอ ๔๙๔ หมู่บ้านสำหรับชาวภูไทในจังหวัดสกลนคร ถือเป็นชาวภูไทกลุ่มใหญ่ที่สุดก็ได้ เพราะมีชาวภูไทอยู่ถึง ๙ อำเภอ ๒๑๒ หมู่บ้าน จังหวัดนครพนม 5 อำเภอ 131 หมู่บ้าน จังหวัดมุกดาหาร 5 อำเภอ 68 หมู่บ้าน จังหวัดกาฬสินธุ์ 5 อำเภอ 63 หมู่บ้าน จังหวัดหนองคาย 3 อำเภอ 6 หมู่บ้าน จังหวัดอำนาจเจริญ 2 อำเภอ 5 หมู่บ้านจังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

ดังนั้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน บ้านของสตรีภูไทที่ให้ข้อมูลไว้ คือ หนึ่งในสองอำเภอที่ชาวภูไทตั้งถิ่นฐานมานานนับร้อยๆ ปี ซึ่งกลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสาวชนเผ่าภูไทนี้ หากใครมีโอกาสได้มาเยือนบ้านดงคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ก็จะได้สัมผัสกับกลิ่นหอมพิเศษสุด จากแป้งหอมภูไท ใครได้ดมกลิ่นแล้วจะติดตรึงใจไปอีกนาน

ในหมู่บ้านดงคำเดือยนี้ สตรีชนเผ่าภูไทแทบทุกครัวเรือนรู้จักปรุงใช้กันทุกคน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของการพึ่งพาตนเองและใช้ชีวิตแบบพอเพียง เนื่องจากแป้งหอมนั้นได้มาจากไม้หอมที่ปลูกอยู่แล้วในครัวเรือน นอกจากความหอมเฉพาะแล้วแป้งหอมยังใช้ทาแก้ผดผื่นคัน และช่วยให้ผิวพรรณสดใสตามแบบฉบับของหญิงสาวชาวภูไท ดังกลอนนิรนาม

“กลิ่นหอมหวลยวนใจชวนคิดถึง
เฝ้าคะนึงหลงใหลในความหอม
กลิ่นหอมอื่นหมื่นใดไม่อาทร
สุดอาวรณ์หอมกลิ่นแป้งแห่งภูไท”

ส่วนประกอบของแป้งหอมภูไท ๑.เครือตั้งตุ่น ๒.ใบอ้ม ๓.ใบคำพอง ๔.ขมิ้น ๕.ใบเนียม ๖.ใบคุด ๗.ว่านหอม ๘.ใบเสน ๙.รากแนงหอม

วิธีปรุง นำส่วนผสมทั้งหมดมาฝานเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเอาไปนึ่งรวมกัน โดยให้ใช้ใบ
ตองห่อส่วนผสมทั้งหมดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหอมหรือกลิ่นระเหยออกไปหมด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วก็เอา
ส่วนผสมทั้งหมดมาตากแดดให้แห้งจนกรอบ แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดให้เป็นผง

วิธีใช้ นำผงแป้งหอมมาผสมกับขมิ้นแล้วทาบริเวณผิวหนังและร่างกายตามที่ต้องการ
สรรพคุณ กลิ่นจะคล้ายยาหอมขับลม ใช้ดมแก้งวิงเวียน ใช้ทาแก้ผดผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อนตามร่างกาย และเป็นการเพิ่มความหอมให้กับร่างกายได้อีกด้วย และในสมัยโบราณสตรีหลังคลอดบุตรจะใช้ทาผิว ทำให้ผิวพรรณสวยงามเหมือนเมื่อครั้งที่ยังเป็นสาวก่อนคลอดบุตร

นอกจากนี้ชาวภูไทสมัยโบราณจะใช้ผงแป้งหอมผสมกับขี้ผุยมะพร้าว และน้ำยางบง เพื่อทำเป็นธูปหอมจุดให้ควันหอมอบอวลทั้งบ้าน อยากกระซิบว่าเจ้าหน้าที่มูลนิธิสุขภาพไทย นำเอาผงแป้งหอมชาวภูไท มาจากงามมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ ๓ ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ(สสส.) และเครือมติชน


นำมาใส่ไว้ในรถยนต์ พอถูกแดดจัดๆ ในเมืองกรุง กลิ่นหอมอ่อนจากในถุงพลาสติกช่วยให้ขับรถในเมืองคลายเครียดไปได้มากจ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แหล่ประวัติภูไท






ประวัติภูไท

คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่า'ผู้" หรือ "พู้" เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท
( คนเขียน เรียบเรียง บึนทึกลงเว็บไซท์ เป็นคนภูไท โดยกำเนิด )
แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย”ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยอยู่ใน
แค้วนสิบสองจุไทย
และแค้วนสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทย ซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)
เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม
2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว
รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย"

ดูภาพทั้งหมดของชาวภูไท       ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการ ช่วยปราบกบฏ
ในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบกษัตริย์
เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทาน
พระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา       ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่ง เกิดจากพระศรีวรราชหัวหน้าชาวผู้ไทย และ
เจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครอง
หัวเมืองชาวผู้ไทย คือ เมืองสบแอก
เมืองเชียงค้อ เมืองวัง เมืองตะโปน(เซโปน)
พร้อมกับอพยพชาวผู้ไทยลงไปทางใต้ของ
ราชอาณาจักรเวียงจันทน์(ปัจจุบันอยู่ในแขวง
สุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน)



  ชาวภูไท

(เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อ
พระราชธรรมเนียมลาวซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479 ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4
และเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ) ต่อมาชาวผู้ไทยได้ แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ของลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ เป็นกบฎต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปปราบปราม
จนสงบราบคาบแล้วทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพพวกผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง ฯลฯ จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ให้มาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เวียงจันทน์ และญวนอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้าม
โขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ...
มีหมู่บ้านเชื้อสายภูไท ร้อยกว่าหมู่บ้านประชากรเกือบ 1 ใน 4 เป็นชาวผู้ไทยซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในท้องที่เมืองต่าง ๆในอดีต คือ
   1.เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
   2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
    3.เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
    4. เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง
จำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) 
    5. เมืองหนองสูง  ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเข ียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
     6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจาก
เมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเข ต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้าน
ห้วยปลาแดกและเมื่อยุ บเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอ
เสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58หอสมุดแห่งชาติ)
     7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้ วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
     8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทย
เมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอย
เขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อ ำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
     9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ) อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ มุกดาหาร